ดอกไม้ประจำจังหวัดภาคเหนือ

ดอกพวงแสด

ดอกไม้ประจำจังเชียงราย

fl_26

ดอกไม้ประจำจังหวัด     เชียงราย

ชื่อดอกไม้                     ดวงพวงแสด

ชื่อสามัญ                       Orange Trumpet, Flame Flower.

ชื่อวิทยาศาสตร์            Pyrostegia venusta., Miers.

วงค์                                BIGNONIACEAE

ลักษณะทั่วไป            พวงแสดเป็นพันธุ์ไม้เถาเลื้อยที่มีขนาดใหญ่ สามารถเลื้อยเกาะได้ไกลมากกว่า 40 ฟุต เถาอ่อนสีเขียว เมื่อแก่จะกลายเป็นสีน้ำตาล ใบเป็นใบประกอบ มี 3 ใบย่อย แต่จะมีบางใบที่เป็นคู่โดยใบย่อยที่สามที่อยู่ตรงกลางจะเปลี่ยนจากใบเป็นมือเกาะ ใบออกสลับกัน สีเขียวเข้ม ก้านใบสั้นเกือบชิดกิ่ง ใบรูปไข่ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบไม่มีจัก ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ และตามปลายกิ่งส่วนยอดดอกดกจนดูแน่นช่อ มีกลีบรองดอก เป็นรูปถ้วย หรือรูปกระดิ่งหงาย ดอกเป็นรูปทรงกรวย เรียวยาว ปลายดอกจะบานออกเป็น 4 กลีบ เมื่อดอกบานเต็มที่กลีบดอกจะงอโค้งลงข้างล่าง ดอกยาวประมาณ 5–6 เซนติเมตร ภายในดอกมีเกสรตัวผู้ 4 อัน สั้นยาวไม่เท่ากัน สั้น 2 อัน และยาว 2 อัน เกสรตัวเมีย 1 อัน อยู่ตรงกลาง สีตองอ่อน และยาวกว่าเกสรตัวผู้ พวงแสดออกดอกช่วง เดือนธันวาคม–มีนาคม ของทุกปี

การขยายพันธุ์            ปักชำกิ่ง, ตอนกิ่ง

สภาพที่เหมาะสม       ดินร่วน ไม่ต้องการน้ำมาก แสงแดดจัด

ถิ่นกำเนิด                    ประเทศบราซิลและอาเจนตินา

ดอกทองกวาว ดอกจานเหลือง

ดอกไม้ประจำจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน อำนาจเจริญ อุดรธานี

fl_15

ดอกไม้ประจำจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน  อำนาจเจริญ  อุดรธานี

ชื่อดอกไม้                                  ดอกทองกวาว

ชื่อสามัญ                                    Flame of the forest, Bastard Teak, Bengal kinotree, Kino tree

ชื่อวิทยาศาสตร์                         Butea monosperma

วงค์                                            LEGUMINOSAE

ชื่ออื่น                                       กวาว ก๋าว (ภาคเหนือ), จอมทอง (ภาคใต้), จ้า (เขมร), ทองธรรมชาติ ทองพรหมชาติ ทองต้น (ภาคกลาง), ดอกจาน (อิสาน)

ลักษณะทั่วไป                          ทองกวาวเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่สูงประมาณ 10–15 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดรูปทรงไม่แน่นอน ส่วนใหญ่จะกลม หรือเป็นทรงกระบอก ใบประกอบมี 3 ใบ ขนาดไม่เท่ากัน ใบหนาและมีขน ใต้ใบสีเขียวอมเทา ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง คล้ายดอกถั่ว สีแสดแดงหรือเหลือง มีขน ออกดอก เดือนธันวาคม–มีนาคม ผลเป็นฝักแบน มีขนนุ่ม เมล็ด 1 เมล็ดอยู่ที่ปลายฝัก

การขยายพันธุ์                        การเพาะเมล็ด

สภาพที่เหมาะสม                   ดินร่วนซุย แสงแดดจัด

ถิ่นกำเนิด                                อินเดีย

ดอกธรรมรักษา

ดอกไม้ประจำจังหวัดลำปาง

fl_17

ดอกไม้ประจำจังหวัด   ลำปาง

ชื่อดอกไม้                    ดอกธรรมรักษา

ชื่อสามัญ                      Heliconia

ชื่อวิทยาศาสตร์           Heliconia spp.

วงค์                                HELICONIACEAE

ชื่ออื่น                             ก้ามกุ้ง

ลักษณะทั่วไป                        ธรรมรักษาเป็นพรรณไม้ล้มลุก อวบน้ำ มีลำต้นใต้ดิน เรียกว่า เหง้า ลักษณะคล้ายกับกล้วย ลำต้นสูงประมาณ 1–2 เมตร เจริญเติบโตโดยการแตกหน่อออกมาเป็นกอ ลักษณะใบคล้ายใบกล้วย เรียงสลับกัน มีสีเขียว ผิวเรียบเป็นมัน ขนาดของใบ ขึ้นอยู่กับชนิดของพันธุ์ ออกดอกเป็นช่อตรงส่วนยอดของลำต้น ลักษณะช่อดอกตั้งและห้อยลงแล้วแต่ชนิดพันธุ์ ในแต่ละช่อดอกมี 4–8 ดอก ดอกมีสีส้ม แดง เหลือง และชมพู ผลคือส่วนของดอกเมื่อแก่ก็จะกลายเป็นเมล็ด

การขยายพันธุ์                        เพาะเมล็ด, แยกกอ, เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

สภาพที่เหมาะสม                   ดินร่วนซุย ดินร่วนปนทราย แสงแดดรำไร จนถึงแสงแดดจัด

ถิ่นกำเนิด                                อเมริกาใต้

ดอกเสี้ยวดอกขาว

ดอกไม้ประจำจังหวัดน่าน

fl_39

ดอกไม้ประจำจังหวัด   น่าน

ชื่อดอกไม้                    ดอกเสี้ยวดอกขาว

ชื่อสามัญ                    Orchid Tree, Purple Bauhinia

ชื่อวิทยาศาสตร์          Bauhinia variegata L

วงค์                                LEGUMINOSAE

ชื่ออื่น                             เสี้ยวป่าดอกขาว

ลักษณะทั่วไป                 ต้นสูง 5–10 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดกลม ใบเดี่ยวค่อนข้างกลม ปลายและโคนใบเว้า คล้ายใบแฝดติดกัน ใต้ใบมีขน ออกดอกเป็นช่อที่ซอกใบและปลายกิ่ง 6–10 ดอก มี 5 กลีบคล้ายดอกกล้ายไม้มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ออกดอกตลอดปี ดอกดกช่วง เดือนพฤศจิกายน–มีนาคม ผลเป็นฝักแบน เมื่อแก่จะแตกเป็น 2 ซีก

การขยายพันธุ์                        เพาะเมล็ด

สภาพที่เหมาะสม                   เติบโตได้ดีในดินที่ระบายน้ำดี ความชื้นสูง แสงแดดจัด

ถิ่นกำเนิด                        อินเดีย, มาเลเซีย

ดอกบัวตอง

ดอกไม้ประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอน

fl_20

ดอกไม้ประจำจังหวัด   แม่ฮ่องสอน

ชื่อดอกไม้                    ดอกบัวตอง

ชื่อสามัญ                    Mexican Sunflower Weed

ชื่อวิทยาศาสตร์       Tithonia diversifolia (Hemsl.) A. Gray.

วงค์                            COMPOSITAE

ชื่ออื่น                             พอหมื่อนี่

ลักษณะทั่วไป                 บัวตองเป็นไม้ดอกมีอายุยืนยาวหลายปีสามารถสูงได้ถึง 5 เมตร ออกดอกเป็นช่อเดี่ยวบริเวณปลายกิ่ง มีสีเหลืองคล้าย ดอกทานตะวัน แต่มีขนาดเล็กกว่า ดอกวงนอกเป็นหมัน กลีบดอกเรียวมีประมาณ 12–14 กลีบ ดอกวงในสีเหลืองส้ม เป็นดอกสมบูรณ์เพศ ใบบัวตองเป็นใบเดี่ยว รูปไข่หรือแกมขอบขนาน มีขนขึ้นเล็กน้อยประปราย ปลายใบเว้าลึก 3–5 แฉก

การขยายพันธุ์                        เพาะเมล็ด

สภาพที่เหมาะสม                   เเสงแดดจัด

ถิ่นกำเนิด                        เม็กซิโก

ดอกประดู่

ดอกไม้ประจำจังหวัด อุตรดิตถ์

ดอกไม้ประจำจังหวัด  อุตรดิตถ์

fl_24

ชื่อดอกไม้                    ดอกประดู่

ชื่อสามัญ                    Angsana, Padauk

ชื่อวิทยาศาสตร์             Pterocarpus indicus Willd

วงค์                                 LEGUMINOSAE

ชื่ออื่น                                 สะโน (ภาคใต้)

ลักษณะทั่วไป                       ลำต้นสูง 10–20 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดกลมหรือรูปเจดีย์เตี้ย แผ่กว้าง หนาทึบ ใบประกอบขนนก รูปไข่ เรียบหนา ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง มี 5 กลีบ สีเหลือง มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ดอกบานแล้วร่วงพร้อมๆ กัน ออกดอกช่วงเดือน เมษายน-สิงหาคม

การขยายพันธุ์                      โดยการเพาะเมล็ด

สภาพที่เหมาะสม                  ดินทั่วไป ชอบแสงแดดจัด

ถิ่นกำเนิด                               อินเดีย, พม่า, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์